สรุปงานสัมนา Bay Cybersecurity 2018 จาก Tech Talk Thai

20/09/2018 16:54

Bay Computing ผู้ให้บริการและที่ปรึกษาด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ชื่อดัง จัดงานสัมมนา Cyber Security in Digital Disruption & Robotic 4.0 Era อัปเดตแนวโน้มด้านภัยคุกคามและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุด พร้อมรวบรวมวิธีปฏิบัติและแนวคิดต่างๆ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เช่น Artificial Intelligence, Big Data และ Machine Learning จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานหรือต้องการอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด สามารถอ่านบทความสรุปงานสัมมนาด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ความมั่นคงปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Digital Transformation

คุณอวิรุทธ์ เลี้ยงศิริ รองประธานอาวุโสฝ่ายโซลูชันธุรกิจจาก Bay Computing ได้ขึ้นกล่าวเปิดงานในเซสชัน Keynote ระบุว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุค Internet of Things ที่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CCTV, Smart TV, Smart Home อยู่ใกล้ตัวเราและถูกใช้งานอยู่ทุกๆ วัน อย่างไรก็ตามอุปกรณ์เหล่านี้ยังคงเปราะบางต่อภัยคุกคาม ส่งผลให้แฮ็กเกอร์มีช่องทางในการโจมตีเพื่อเข้าถึงตัวเราได้ง่ายยิ่งขึ้น

ในส่วนของ Infrastructure เอง หลายองค์กรเริ่มนำระบบ Cloud เข้ามาใช้งานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ขอบเขตของการดูแลไม่ใช่เพียงแค่ในห้อง Data Center อีกต่อไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรควรพิจารณาถึงประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยเมื่อมีการนำอุปกรณ์ IoT และระบบ Cloud เข้ามาพลิกโฉมธุรกิจขององค์กร มิเช่นนั้น ถ้าองค์กรถูกโจมตีหรือเกิดเหตุ Data Breach อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งรายได้และชื่อเสียงขององค์กรได้

“การแฮ็กในปัจจุบันเริ่มกลายเป็นอุตสาหกรรม ไม่ใช่เป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ อีกต่อไป เป้าหมายที่ถูกโจมตีมักเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญคืออุตสาหกรรมนี้มักมีองค์กรอาชญากรรมหนุนหลังอยู่ หรือบางทีก็เป็นหน่วยงานรัฐบาลเอง ที่เรียกว่า State-sponsored Attack ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเหตุจูงใจทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้การโจมตีรุนแรงกว่าอดีตมาก” — คุณอวิรุทธ์กล่าว

5 แนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดย Bay Computing

คุณอวิรุทธ์ยังกล่าวอีกว่า ข้อมูลในปัจจุบันเปรียบเสมือนกับน้ำมัน จะยิ่งมีค่ามากขึ้นเมื่อเรากลั่นสกัดออกมาแล้วนำไปใช้เพื่อก่อประโยชน์ทางธุรกิจ สอดคล้องกับรายงานของ Accenture ที่ว่า 79% ของผู้บริหารระบุว่า การทำ Big Data Analytics เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเพิ่มขีดจำกัดด้านการแข่งขัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมจึงมี Spyware และ Ransomware เกิดขึ้น รวมไปถึงเป็นแรงจูงใจหลักของแฮ็กเกอร์ในการโจมตีแบบ Advanced Persistent Threats (APTs) เพื่อขโมยข้อมูล

สำหรับแนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คุณอวิรุทธ์ได้สรุปออกมาเป็น 5 ข้อ ดังนี้

  1. ภัยคุกคามไซเบอร์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริหารต้องเตรียมตัวเพื่อวางแผนรับมือ
  2. กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ จะถูกบังคับใช้มากขึ้น เช่น GDPR
  3.  ความมั่นคงปลอดภัยบนระบบ Cloud เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล
  4. Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning เป็นเทคโนโลยีน่าสนใจที่ทุกองค์กรควรศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้
  5. ที่มาของผู้ผลิตกลายเป็นปัจจัยในการตัดสินใจใช้บริการ ส่งผลให้ชื่อเสียงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

สรุปแนวโน้มและเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก

นอกจากการอัปเดตแนวโน้มและเทรนด์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากทาง Bay Computing แล้ว ภายในงาน Cyber Security in Digital Disruption & Robotic 4.0 Era ยังได้รวบรวมวิธีปฏิบัติและแนวคิดต่างๆ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เช่น Artificial Intelligence, Big Data และ Machine Learning จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกมาเล่าสู่กันฟังอีกด้วย ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

RSA

ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เสมือนเป็นเกมแมวจับหนู ทั้งองค์กรและแฮ็กเกอร์เองต่างพัฒนาตนเองให้พร้อมสู้กับอีกฝ่าย สำหรับปีนี้ RSA ระบุว่า แฮ็กเกอร์จะเน้นโจมตีที่อุปกรณ์พกพา, อุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์จำพวก Home Assistant เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เริ่มมีข้อมูลสำคัญเก็บอยู่ มีความมั่นคงปลอดภัยต่ำ และผู้ใช้ไม่ค่อยสนใจป้องกันเท่าไหร่ นอกจากนี้ Data Breach ก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรต้องเตรียมวางแผนรับมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสำคัญกับการทำ Detect & Respond เนื่องจากการป้องกัน (Prevent) อย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป

สำหรับองค์กรที่เตรียมพัฒนาศูนย์ SOC ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ People, Process และ Technology จึงจะพร้อมรับมือต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนเทคโนโลยีเอง AI และ Machine Learning จะถูกผสานเข้ากับ User and Entity Behavior Analytics (UEBA) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับและวิเคราะห์พฤติกรรมที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายขององค์กรให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.rsa.com

 

Forcepoint

Forcepoint เป็นการผสานรวมเทคโนโลยี 5 รายการเข้าด้วยกัน ได้แก่ Raytheon, Websense, Stonesoft, Skyfence และ Redowl เพื่อปกป้องจุดที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้และข้อมูลเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ในอดีต องค์กรส่วนใหญ่ใช้โมเดลด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบ Threat Centric เพื่อจำแนกว่าทราฟฟิกไหนเป็นสีขาว (ดี) หรือสีดำ (ไม่ดี) แต่ปัจจุบันนี้ทราฟฟิกที่เป็นสีเทามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องหันมาใช้โมเดลแบบ Behavior Centric แทน โดยอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้ใช้จะทำให้สามารถตัดสินทราฟฟิกสีเทาได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ Forcepoint ยังได้นำเสนอโมเดลด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบ Risk Adaptive คือ นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยควรปรับเปลี่ยนตามระดับความเสี่ยงของผู้ใช้คนนั้นๆ ได้ ถ้าผู้ใช้มีความเสี่ยงในระดับที่สูงขึ้น นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยก็ควรจะเข้มงวดและรัดกุมมากยิ่งขึ้นตาม

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.forcepoint.com

 

Imperva

Imperva ให้บริการ Cloud Web Application Firewall และ DDoS Mitigation สำหรับปกป้องแอปพลิเคชันบนระบบ Cloud จากภัยคุกคามต่างๆ ครอบคลุม OWASP Top 10 ที่สำคัญคือมี Scrubbing Center 44 แห่งกระจายอยู่ทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทย สามารถป้องกันการโจมตีแบบ Volumetric DDoS ได้สูงสุดถึงระดับ 5 Tbps

สำหรับระบบฐานข้อมูลนั้น Imperva มีบริการ Database Activity Monitoring สำหรับทำ Database Auditing โดยเฉพาะ ช่วยลดภาระการทำ Auditing บนระบบฐานข้อมูลเอง ที่สำคัญคือสามารถตรวจสอบและแจ้งเตือนพฤติกรรมที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นบนระบบฐานข้อมูลได้ นอกจากนี้ Imperva ยังให้บริการ Database Security และ File Security สำหรับปกป้องข้อมูลใน Database, File Share และ SharePoint อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.imperva.com

 

A10 Networks

จากสถิติพบว่า การโจมตีแบบ DDoS มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 380% ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่การโจมตีระดับ 50 Gbps ก็ถูกพบเห็นได้บ่อยกว่าเดิมถึง 4 เท่า ซึ่งการป้องกัน DDoS แบบ Cloud Scrubbing, Clean Pipe และ On-premise อย่างใดอย่างหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรับมือการโจมตีแบบ DDoS ในปัจจุบันอีกต่อไป A10 Networks จึงได้นำเสนอการป้องกัน DDoS แบบ Multi-layered Approach ซึ่งผสานรวมทั้ง 3 เทคนิคเข้าด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรพร้อมรับมือกับการโจมตีแบบ DDoS ได้ทั้งในระดับ Network และ Application

นอกจากการโจมตีแบบ DDoS แล้ว ภัยคุกคามที่แฝงตัวมากับ SSL ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าเป็นห่วง จากสถิติพบว่าการโจมตีที่ซ่อนพรางมากับช่องทางที่เข้ารหัสเพิ่มสูงขึ้นถึง 41% ถึงแม้ว่าหลายโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยจะสามารถถอดรหัสเพื่อตรวจสอบภัยคุกคามในทราฟฟิก SSL ได้ แต่ประสิทธิภาพของโซลูชันเหล่านั้นก็จะลดลงถึงประมาณ 81% ส่งผลให้ A10 Networks นำเสนอโซลูชันสำหรับบริหารจัดการทราฟฟิกที่เข้ารหัสข้อมูลแบบ SSL โดยเฉพาะ เรียกว่า SSL Insight ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่สามารถถอดรหัสข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แล้วส่งต่อข้อมูลที่ถอดรหัสแล้วไปยังอุปกรณ์รักษาความมั่นคงปลอดภัยอื่นๆ พร้อมกันได้หลายเครื่อง ภายใต้แนวคิด “Decrypt Once, Inspect Many Times” ซึ่งช่วยลดภาระงานในการถอดรหัส SSL ของอุปกรณ์อื่นได้เป็นอย่างดี

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.a10networks.com

 

Fortinet

Fortinet ให้บริการโซลูชันสำหรับป้องกันระบบ IT จากภัยคุกคามแบบครบวงจร ครอบคลุมทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ Infrastructure, Cloud, IoT และ OT รวมไปถึงนำเสนอ Adaptive Security Framework สำหรับรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ในปัจจุบันที่มีหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วย

  • การค้นหาช่องทางการโจมตีที่ครอบคลุมทั้งระบบเครือข่ายและระบบ Cloud
  • การป้องกันระบบ IT จากภัยคุกคามที่เคยประสบมาก่อน
  • การตรวจจับภัยคุกคามที่ไม่เคยประสบมาก่อน (Unknown Threats)
  • การตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วผ่านทางฟีเจอร์ User and Entity Behavior Analytics (UEBA)
  • การประเมินความน่าเชื่อถือ (Trust) โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ โซลูชันของ Fortinet ยังมีจุดเด่นสำคัญที่เรียกว่า Security Fabric ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ FortiGate ซึ่งทำหน้าที่ Firewall ตรวจพบไฟล์ต้องสงสัย FortiGate จะส่งไฟล์นั้นไปตรวจสอบที่ FortiSandbox ในกรณีที่ยืนยันได้ว่ามีภัยคุกคามแฝงตัวอยู่จริง FortiSandbox จะส่งข้อมูลไปยังทุกอุปกรณ์ของ FortiGate เพื่อให้รับทราบถึงภัยคุกคามดังกล่าว เมื่ออุปกรณ์อื่น เช่น FortiClient ตรวจพับไฟล์ต้องสงสัยอีกครั้ง ก็จะสามารถบล็อกไฟล์นั้นๆ ได้ตั้งแต่ที่อุปกรณ์ปลายทางเลย ผลลัพธ์คือความเร็วในการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยลดลง

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.fortinet.com

 

FireEye

จากผลวิจัยล่าสุดของ FireEye ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทั่วโลกต้องใช้เวลาประมาณ 101 วันในการค้นพบว่าองค์กรของตนกำลังถูกโจมตีอยู่ ในขณะที่ในภูมิภาค APAC ต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยสูงถึง 498 วัน การตรวจจับ (Detect) และตอบสนอง (Respond) อย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เพื่อให้องค์กรเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยคุกคามไซเบอร์น้อยที่สุด

ด้วยเหตุนี้ FireEye จึงได้นำเสนอบริการของ Mandiant ซึ่งเป็นทีมปรึกษาของ FireEye สำหรับทำ Incident Response โดยเฉพาะ ซึ่งบริการดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การพิสูจน์หลักฐานเชิงดิจิทัล และการตอบสนองเมื่อเกิดเหตุการณ์ Data Breach นอกจากนี้ Mandiant ช่วยประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร รวมไปถึงอบรมบุคลากรเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยให้สูงขึ้นอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.fireeye.com/services.html

 

Gemalto

Gemalto เป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้าน Data Protection ชั้นนำของโลก ซึ่งมุ่งเน้นที่การให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับพิสูจน์ตัวตนทั้งแบบกายภาพและแบบออนไลน์มายาวนานกว่า 30 ปี มีฐานลูกค้ามากกว่า 180 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีโซลูชันสำหรับเข้ารหัสข้อมูลและบริหารจัดการกุญแจที่ใช้เข้ารหัส เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในยุคดิจิทัล

Gemalto พร้อมให้บริการ 3 โซลูชันสำคัญเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญจากภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ได้แก่

  • การค้นหาและเข้ารหัสข้อมูลสำคัญ ทั้งใน Data Center และบนระบบ Cloud
  • การจัดเก็บและบริหารจัดการกุญแจที่ใช้เข้ารหัสข้อมูลและ Digital Certificates อย่างมั่นคงปลอดภัย
  • การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บอยู่บน Apps, File Servers, Databases, Storage Networks, VM และ Cloud

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.gemalto.com

 

Nutanix

Nutanix เป็นผู้นำเทคโนโลยี Hyper-converged Infrastructure (HCI) และ Enterprise Cloud Platform โดยมุ่งเน้นความต่อเนื่องของธุรกิจให้ทำงานได้ตลอดเวลา ไม่มีหยุดชะงัก สามารถเพิ่มหรือขยายระบบในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว บริหารจัดการได้ง่าย ที่สำคัญคือมีความมั่นคงปลอดภัยสูง พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยความสามารถอันหลากหลาย เช่น

  • Nutanix AHV: ระบบ Hypervisor ของ Nutanix
  • Nutanix Prism: โซลูชันบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ที่มาพร้อมกับการทำงานแบบ One-click
  • Nutanix Flow: เครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยระดับสูงของ Nutanix
  • Nutanix Calm: Application Automation และการบริหารจัดการ Lifecycle สำหรับ Nutanix และ Public Clouds
  • รองรับการบริหารจัดการแบบ Multi-cloud ได้แก่ Private Clouds, AWS, Azure และ Google Cloud

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nutanix.com/

 

CyberArk

CyberArk เป็นผู้ให้บริการ Privileged Access Security ชั้นนำสำหรับปกป้อง Privileged Account ที่ใช้ในการเข้าถึงระบบสำคัญขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล หรือแอปพลิเคชัน โดย CyberArk สามารถเปลี่ยนรหัสการใช้งานได้ตามนโยบายขององค์กร รวมไปถึงสามารถเก็บบันทึกการเข้าถึงระบบในรูปของ Log และวิดีโอซึ่งสามารถดูย้อนหลังได้ นอกจากนี้ CyberArk ยังมีฟีเจอร์การวิเคราะห์พฤติกรรมการเข้าถึงระบบต่างๆ ของผู้ดูแลระบบ (Admin Behavior Analytics) เพื่อตรวจจับและป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังสามารถแจ้งเตือนและหยุดการใช้งาน Privileged Account ที่ผิดปกติได้อีกด้วย

CyberArk รองรับการปกป้อง Privileged Account ทั้งบนระบบที่เป็น On-premises และระบบ Cloud ขององค์กร รวมไปถึงสามารถปกป้อง Credentials ของแอปพลิเคชันเชิงธุรกิจและภัยคุกคามอันเนื่องมากจาก Robotic Process Automation ได้อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.cyberark.com/

 

Arista Networks

Arista เป็นผู้นำทางด้านระบบเครือข่ายสำหรับ Cloud และ Data Center ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี Software-defined Networks (SDN) เพื่อให้รองรับการทำงานแบบ Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งให้บริการระบบอัตโนมัติซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Data Center แบบ Virtualization ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Arista มีการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชั้นทำ ไม่ว่าจะเป็น VMware, Microsoft, Nutanix หรือ HPE เพื่อนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการและเฝ้าระวังระบบเครือข่ายแบบเรียลไทม์ รวมไปถึงการวิเคราะห์ระบบเพื่อนำไปสู่การวางแผนขยายระบบในอนาคต ที่สำคัญคือ Arista เป็นระบบเปิดซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมดูแลระบบเอง เช่น OpenStack, Ansible, Chef, Puppet หรือจะใช้ซอฟต์แวร์ CloudVision ของทาง Arista เองก็ได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ Arista Networks จึงเป็นผลิตภัณฑ์อันดับ 1 ทางด้านเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ให้บริการระบบ Cloud ที่ใช้กันมากที่สุด

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.arista.com/

 

เกี่ยวกับ Bay Computing

Bay Computing เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้บริการโซลูชันแบบครบวงจร (End-to-End Turnkey Solutions) ได้แก่ Cyber Security Operation Solution, Endpoint Security and Management, Network & Network Security Solutions, Data Security Solution, Infrastructure Solution and Advisory Service ตลอดจนการพัฒนาโซลูชัน Cybersecurity ที่ครอบคลุมทั้งการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงกระบวนการนำไปใช้ และทักษะของบุคลากรในการให้คำปรึกษา ติดตั้ง บำรุงรักษา ปฏิบัติการ ตลอดจนการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จสูงสุด

ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน Bay Computing มีผลิตภัณฑ์ที่รองรับความต้องการเพื่อให้เป้าหมายทางธุรกิจ บรรลุผลขององค์กรทุกระดับ ด้วยทีมงานมืออาชีพมากกว่า 100 คนที่มีความพร้อมและเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายเทคโนโลยีและมีความชำนาญมากกว่า 20 ปี จึงได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำมากมาย อาทิ ผู้ให้บริการระบบสื่อสารและโทรคมนาคม, สถาบันการเงิน, บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์, หน่วยงานราชการ, หน่วยงานความมั่นคง, รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาชั้นนำ ในการส่งมอบโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กรและธุรกิจของคุณ